toyota alphard,toyota estima, alphard vs estima,ของแต่งรถนำเข้า estima-alphard.com. ชุดแต่งนำเข้า. อุปกรณ์แต่งalphard, อุปกรณ์ประดับยนต์, ชุดแต่งToyota alphard,club alphard,Toyota club,รถนำเข้า,rx270,
  ข่าว
ถ้าคุณรักรถรถก็จะรักคุณ
[1 กุมภาพันธ์ 2560 23:36 น.]จำนวนผู้เข้าชม 3615 คน
ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษารถ
ดูแลรักษารถยนต์ แบบง่ายๆด้วยตัวคุณเอง...ของคนมีรถที่ช่วยในการลดค่าใช้จ่ายคือการดูแลรักษารถสุดที่รักของตัวเองให้อยู่กับเราไปได้นานที่สุด
ขั้นตอนการดูแลรักษารถของคุณ
การตรวจสอบรถก่อนออกใช้งานประจำวัน
ก่อนออกใช้งานทุกครั้ง ผู้ขับขี่ต้องตรวจสอบสภาพก่อนใช้งานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความเสียหาย ซึ่งอาจ
เกิดขึ้นได้จากสภาพของรถผู้ขับขี่จะต้องตรวจสภาพรถในเรื่องต่างๆ ดังนี้
 1. ยาง ดอกยางควรมีมากเพียงพอต่อการยึดเกาะถนนและการทรงตัวที่ดีแรงดันของลมยางต้อง เป็นไปตาม
บริษัทยางกำหนดให้
 2. ที่ปัดน้ำฝน ใบปัดน้ำฝนตลอดถังพักน้ำ และอุปกรณ์ปัดน้ำฝนต้องอยู่ในสภาพ ใช้งานได้ดี
 3.  แบตเตอรี่ ตรวจสภาพแบตเตอรี่ และน้ำกลั่นว่าอยู่ระดับที่กำหนด
 4. หม้อน้ำ สภาพหม้อน้ำและถังพักน้ำมีน้ำอยู่ตามระดับที่ต้องการเสมอ
 5. ใบพัดลมและท่อยาง ตรวจสภาพใบพัดลม และท่อยางน้ำบน – ล่าง ยางอุดตาน้ำให้อยู่ใน สภาพใช้งานได้ดี
 6. สายพาน ต้องอยู่ในสภาพดีไม่หย่อนมีรอยปริหรือหัก
 7. น้ำมันต่าง ๆ ตรวจดูระดับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเพาเวอร์พวงมาลัย น้ำมันเกียร์อัตโนมัติว่ามีน้ำมันอยู่ในระดับที่
บริษัทรถแต่ละประเภทกำหนดอยู่
 8. เครื่องยนต์ดีเซล ควรตรวจดูไส้กรองน้ำมันโซล่า หรือถอดล้างทำความสะอาดอย่าให้มีน้ำอยู่และควรปิดฝา
ถังน้ำมันเชื้อเพลิงให้สนิทด้วย
9. ระดับน้ำมันเบรก น้ำมันคลัชท์ ควรตรวจว่าอยู่ในระดับที่ถูกต้องและตรวจการรั่วซึมของวงจรเบรก เช่น
บริเวณแม่ปั้มเบรก ลูกยางเบรกแต่ละล้อมีการรั่วซึมหรือไม่
10. ตรวจดูสายไฟแรงสูง (สายหัวเทียน) อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
 11. ระบบสัญญาณ และไฟแสงสว่าง ตรวจด้านหน้ารถและท้ายรถยังอยู่นาภาพที่ใช้งานได้ดี
 
 
 
 
 
 
 
 

การใช้และการตรวจสอบยาง
1. นัทยึดล้อต้องไม่คลายตัว กระทะล้อไม่ชำรุด
2. ที่เติมลมยางทุกเส้นต้องมีฝาปิดเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก
3. ตะกั่วถ่วงล้อต้องไม่หลุดจากกะทะล้อ
4. ตรวจสภาพการสึกของดอกยาง
5. ตรวจลมยางด้วยเกจ์วัดอย่างน้อยเดือนละครั้งตรวจเช็คประจำวัน ดูลักษณะดอกยาง กดลงบนพื้น
6. ตรวจดูการรั่วของลมยางที่จุ๊บเติมลม ตรวจสภาพยางล้อทั่วไปว่าตะปู หรือสิ่งอื่นที่ฝังอยู่ในเนื้อยาง
7. การเปลี่ยนยางเส้นใหม่ จงใช้ยางที่มีขนาดหรือโครงสร้างเหมืนกันกับยางที่ติดมากับรถ และมีประสิทธิภาพเท่าเทียมหรือเหนือกว่า

การตรวจลมยาง
ควรกระทำอย่างน้อยที่สุดเดือนละครั้งรวมทั้งยางอะไหล่ด้วย ลมยางที่เกินกำหนดจะทำให้อายุ ของยางสั้นลงและไม่ปลอดภัยในการขับขี่หากลมยางอ่อนเกินไป จะทำให้ยางสึกหรอเร็ว พวงมาลัยหนัก  สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมาก และยางอาจระเบิดได้ง่าย หากลมยางมากเกินไป การขับขี่จะไม่นิ่มนวล, ดอกยางตรงกลางสึกเร็วและอาจเกิดอันตรายจากยางกระแทกกับหิน ฯลฯ
 

ข้อแนะนำในการตรวจลมยาง
ตรวจลมยางขณะที่ล้อยังเย็นอยู่คือ จอดพักรถไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงและขับมาไม่เกิน 1 กม. จะทำให้การตรวจลมยางแน่นอนยิ่งขึ้นใช้มาตรวัดลมยางทุกครั้ง การใช้ตาเปล่าสังเกตดูมีโอกาสผิดพลาดมาก  ถ้าลมยางผิดค่าจากที่กำหนด 2-3 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ก็จะเป็นผลการบังคับพวงมาลัยหรือการขับขี่เมื่อเสร็จจากขับใหม่ๆ ไม่ควรปล่อยลมยางออกเพราะการใช้งานจะทำให้ยางร้อนและความดันลมยางเพิ่มขึ้น

ลักษณะการสึกของดอกยางแบบต่างๆ
1.  การสึกหรอเนื่องจาก ลมยางอ่อน
2.  การสึกหรอเนื่องจาก ลมยางแข็งเกินไป
3.  การสึกหรอเนื่องจาก มุมศูนย์ล้อคลาดเคลื่อนจากมาตรฐาน
4.  การสึกหรอเนื่องจาก เสี้ยวรถด้วยความเร็วสูง
5.  การสึกหรอเป็นหลุม เกิดจากสาเหตุหลายอย่างเช่น ล้อไม่ได้ศูนย์, ปรับเบรกไม่เท่ากัน, ยางไม่สมดุล, ลมยาง
อ่อน, จานเบรกเบี้ยว, ลูกหมายปีกนกสึกหรอ เป็นต้น

การตรวจสอบแบตเตอรี่และสภาพน้ำกรด
 1.  ตรวจสอบแบตเตอรี่เกี่ยวกับรอยร้าว, ขั้วหลวม, การกัดกร่อน, ขายึดหลวมหรือไม่
- ถ้าขั้วแบตเตอรี่ถูกกัดกร่อนและมีคราบเกลือล้างออกด้วยน้ำอุ่นผสมโซดา เมื่อล้างสะอาดแล้วทาจาระบีที่ขั้ว
- ขันขายึดแบตเตอรี่ พอให้แบตเตอรี่ยึดติดกับแท่นอย่าขันให้แน่นเกินไป เพราะอาจจะทำให้แบตเตอรี่แตกได้
2.  ตรวจระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่ หากระดับต่ำเกินไปเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับ  ระวังอย่าให้น้ำกรด จาก
แบตเตอรี่เข้าตาหรือเปื้อนเสื้อผ้า
- เมื่อตรวจระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่ ควรตรวจให้ครบทุกช่อง อย่าตรวจเพียงหนึ่งหรือสองช่อง
- ถ้าไม่ได้ระดับให้เติมด้วยน้ำกลั่นเท่านั้น ห้ามเติมด้วยน้ำชนิดอื่นโดยเด็ดขาด อย่าเติมจนล้นเพราะน้ำกรดใน
แบตเตอรี่จะไหลออกมากัดกร่อนภายนอกและยังทำให้แบตเตอรี่เกิดความเสียหายอย่างรวดเร็ว
- เมื่อเติมน้ำกลั่นแล้ว ปิดฝาให้สนิท

สาเหตุที่แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้น
1. ระดับน้ำกรดต่ำเกินไป
2. ไม่ได้ใช้น้ำกลั่นเติม
3. ทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งานนาน
4.  อัดไฟมากเกินไป (ชาร์ทด้วยกระแสสูง)
 
 
 

การตรวจระดับน้ำหล่อเย็น
-   ดูระดับหล่อเย็นในหม้อพัก ระดับที่ใช้ได้ต้องอยู่ระหว่าง “FULL” และ “LOW” ของหม้อพัก ระดับของน้ำหล่อเย็นจะเป็นอัตราส่วนโดยตรงกับอุณหภูมิขอเครื่อง  ถ้าระดับน้ำต่ำกว่า “LOW” ให้เติมน้ำจนถึงระดับ “FULL”
-  ถ้าระบบน้ำหล่อเย็นลดลงเร็วผิดปรกติอาจเกิดการรั่วซึมที่ใดที่หนึ่งในระบบระบายความร้อนให้ตรวจดูท่อยาง  หม้อน้ำ ฝาปิดหม้อน้ำก๊อกถ่ายน้ำและปั๊มน้ำข้อควรระวัง ห้ามทำการเปิดฝาปิดหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์ร้อนจัดโดยเด็ดขาด

สายพานพัดลม
-  ตั้งความตึงของสายพานพัดลมไม่ได้ตามค่ากำหนด  การตรวจความตึงของสายพานเบื้องต้นโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดตรงกึ่งกลางระหว่างศูนย์
การตั้งสายพาน
1. คลายนัทที่ยึดอัลเตอร์เนเตอร์ (ไดร์ชาร์ท) ตัวล่างและตัวบนออกให้อัลเตอร์เนเตอร์สามารถขยับตัวได้
2. เลื่อนอัลเตอร์เนเตอร์จนสายพานตึงตามค่ากำหนดแล้วจึงขันนัทที่คลายออกให้แน่น
3. ตรวจสอบความตึงของสายพานเบื้องต้นโดยใช้หัวแม่มือกดและต้องไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป
คำแนะนำ
- หากมีการปรับตั้งความตึงสายพานควรนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อใช้เครื่องมือวัดค่าความตึงของสายพานทุกครั้ง

การตรวจเช็คน้ำมันเครื่อง
 

น้ำมันเครื่อง
    ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมา และเช็ดให้สะอาด  แล้วสอดกลับเข้าไป และดึงออกมาอีกครั้งแล้วตรวจสอบ
ระดับ ถ้าต่ำกว่า "L" ให้ทำการเติมให้ได้ระดับด้วยน้ำมันเครื่องที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามกำหนดของเครื่องยนต์
รุ่นนั้น
 
การตรวจน้ำมันเครื่อง
1. จอดรถอยู่บนพื้นราบควรวัดระดับน้ำมันเครื่องในขณะเครื่องยนต์เย็น (ตอนเช้าก่อนใช้รถ)   แต่ถ้าจะวัดขณะ
เครื่องร้อนต้องวัดหลังจากดับเครื่องประมาณ 15 นาที เพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับลงอ่างน้ำมันเครื่อง
2. ชักก้านวัดน้ำมันเครื่องออก เช็ดน้ำมันเครื่องที่ติดกับก้านวัดด้วยผ้า
3. สอดก้านวัดน้ำมันเครื่องกลับจนสุด
4. ชักก้านวัดออกมาอีกครั้ง ถ้าระดับน้ำมันอยู่ระหว่างขีด”F” และ “L” ใช้ได้แต่ถ้าระดับอยู่ที่ L หรือต่ำกว่าให้
เติมน้ำมันเครื่องทันทีและอย่าให้เกินขีด F
ถ้าระดับน้ำมันเครื่องสูงเกินไป
1. น้ำมันเครื่องจะดันผ่านแหวนลูกสูบขึ้นไปเผาไหม้รวมกับน้ำมันเพลิง จะทำให้ควันไอเสียมีสีขาว
2. น้ำมันเครื่องจะดันออกทางซีลด้านหน้า – ด้านหลังของเพลาข้อเหวี่ยง  ทำให้รั่วซึมได้ง่าย
3. ทำให้เกิดแรงดันในห้องเพลาข้อเหวี่ยง(ห้องแคร้ง)สูง จะดันให้น้ำมันเครื่องทะลักออกมาทาง ท่อระบายไอ
ถ้าระดับน้ำมันเครื่องต่ำเกินไป
    - ปั๊มน้ำมันเครื่องไม่สามารถดูดน้ำมันไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ  ผลทำให้ชิ้นส่วนของ
เครื่องยนต์เสียหายอย่างรวดเร็วหรือเครื่องพัง

การตรวจเช็คระดับน้ำมันเพาเวอร์ในหม้อพัก
1. ตรวจเช็คระดับน้ำมันเพาเวอร์ที่อยู่ในระดับร้อน(HOT  LEVEL) ของถังด้วยก้านวัด ถ้าน้ำมันเพาเวอร์ต่ำ
เกินไป  ให้เติมน้ำมันที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ให้ได้ระดับที่กำหนด
2. ถ้าน้ำมันเพาเวอร์เย็น  ตรวจเช็คระดับน้ำมันในตำแหน่งระดับเย็น (COOL LEVEL) ของถังด้วยก้านวัด
** สำหรับทุก 10 องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำมันเพาเวอร์จะทำให้ระดับน้ำมันเพาเวอร์เพิ่มขึ้น
ประมาณ 1 มิลลิเมตร . (0.039 นิ้ว) **
 
 
 
 
การไล่ลมระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (ควรเข้ารับบริการที่ศูนย์บริการ)

- เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงหมดถังหรือหลังจากการถ่ายน้ำออกจากกรองน้ำมันเชื้อเพลิง  ถ้ามีฟองอากาศเกิดขึ้นให้ไล่
ลมออกตามขั้นตอนดังนี้
1. คลายสกรูไล่ลมหมายเลข 1 เปิดให้ฟองอากาศและคลายปั๊มหมายเลข 2  ออก  โดยการกดลงบนปั๊มแล้วหมุน
ทวนเข็มนาฬิกา  จนกระทั่งสปริงดันปั๊มขึ้นสูงสุด
2. กดปั๊มขึ้นลง  จนกระทั่งไม่มีฟองอากาศออกมากับน้ำมันเชื้อเพลิงที่บริเวณสกรูไล่ลมแสดงที่อากาศออกจาก
ระบบเชื้อเพลิงหมดแล้ว
3. ขันสกรูปิดให้แน่นดังเดิม
4. ล็อคปั๊มโดยการกดลงบนปั๊ม แล้วขันตามเข็มนาฬิกาจนกว่าจะสุดเกลียว
 
 
ถ้าไส้กรองอากาศตัน จะมีผลเสียดังนี้
     เกิดส่วนผสมหนา ทำให้การเผาไหม้ไม่หมดจด กินน้ำมันเชื้อเพลิงมาก กำลังงานที่ได้มา (แรงม้า) น้อยควัน
ไอเสียมีสีดำวิธีการตรวจไส้กรองอากาศดูว่าตันหรือไม่ ทำได้โดยเปิดฝาครอบหม้อกรองอากาศออกขณะ ที่
เครื่องยนต์กำลังหมุนอยู่ ถ้าเครื่องยนต์หมุนเร็วขึ้น ควันไอเสียที่มีสีดำหายไป แสดงว่าไส้กรองอากาศตัน

การตรวจน้ำมันเบรคและคลัชท์
1.  ระดับน้ำมันเบรกในกระปุกสามารถมองเห็นได้ ซึ่งระดับของน้ำมันเบรกควรอยู่ใกล้เคียงกับระดับที่ถูกต้อง
ควรตรวจระดับน้ำมันเบรกทุกครั้งที่ตรวจน้ำมันเครื่อง เมื่อผ้าเบรกสึกเนื่องจากการใช้งานน้ำมันเบรกอาจลดลง
บ้าง เติมให้เต็มอยู่เสมอ
2.  การเติมน้ำมันเบรกและคลัชท์ ควรใช้ความระมัดระวังเนื่องจากน้ำมันเบรกและคลัชท์เป็นอันตรายต่อดวงตา
และทำลายสีของรถได้ อย่าใช้น้ำมันเบรกและคลัชท์ที่เปิดไว้นานเกิน 1 ปี เนื่องจากน้ำมันเบรกดูดความชื้นจาก
อากาศ ซึ่งเป็นอันตรายต่อประสิทธิภาพของระบบเบรก ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนน้ำมันเบรก เป็นระยะ ๆ จึงเป็น
สิ่งจำเป็น โดยปกติเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี

การตรวจสายหัวเทียน
การตรวจสภาพสายหัวเทียน ต้องอยู่ในสภาพที่ไม่มีรอยฉีดขาด สายหัวเทียนไม่หลุดออกจากเบ้า หัวเทียนเพราะ
จะทำการจุดระเบิดไม่สมบูรณ์

14 วิธีขับรถประหยัดน้ำมัน
1.  ไม่ขับรถเร็วถ้าไม่รีบ ควรขับรถด้วยความเร็ว 80 กม./ชม.
2.  อย่าออกรถเร็วแบบรถเเข่งเพราะจะทำให้เปลืองน้ำมันมาก
3.  ขับรถด้วยความเร็วสม่ำเสมอตลอดการเดินทาง
4.  วางแผนการใช้รถก่อนออกจากบ้าน
5.  มีจุดหมายในการเดินทางชัดเจน
6.  ดับเครื่องทุกครั้งหากต้องจอดรถทิ้งไว้ 3-4 นาทีขึ้นไป
7.  อุ่นเครื่องยนต์ในตอนเช้าประมาณ 1-2 นาที ก่อนใช้รถ
8.  ใช้เครื่องปรับอากาศเท่าที่จำเป็น
9.  ควรเติมลมยางให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ
10.  หมั่นตรวจเช็คสภาพรถ
11. หมั่นตรวจเช็คไส้กรองอยู่เสมอ
12. อย่าบรรทุกของหนักเกินพิกัดหรือนำสิ่งของไว้บนหลังคารถ
13. ควรเปลี่ยนเกียร์ตามจังหวะและรอบความเร็วในการใช้งาน
14.  เลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นที่เหมาะสมกับการใช้งาน
 
#ของแต่งรถนำเข้า #สำนักแต่งรถGodtowa #ของแต่งรถALPHARD #ของแต่งรถVELLFIRE #ของแต่งรถESTIMA #ของแต่งรถPRADO #ของแต่งรถHARRIER
 
 
 
 
 
 

“โช้คอัพ” เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยรองรับแรงกระแทก ลดแรงสั่นสะเทือนของรถ คอยหน่วงการเคลื่อนที่ขึ้นลงของช่วงล่าง-ตัวถัง ช่วยการทรงตัวของรถยนต์ และดูดซับการสั่นของสปริงทำให้การรถเด้ง ขึ้น-ลง ของรถยนต์เป็นไปอย่างนุ่มนวล ลองมาดูกันว่าโช้คอัพที่คุณใช้เป็นแบบไหน และอาการรถเช่นไรถึงต้องเปลี่ยนโช้คอัพ
โช้คอัพมีอยู่ 2 ระบบ
       1.โช้คอัพระบบ “น้ำมัน”
     เป็นการทำงานด้วยระบบไฮดรอลิค ในขณะที่ทำงานน้ำมันไฮดรอลิคจะไหลผ่านวาล์วภายในลูกสูบ มีการควบคุมวาล์วอยู่ 3 ระดับ โดยการทำงานของวาล์วจังหวะแรก BLEED จะมีผลต่อการขับขี่โดยเฉพาะในอัตราความเร็วต่ำ ส่วนวาล์วควบคุมน้ำมันระดับที่สอง BLOW OFF จะควบคุมสมรรถนะในการขับขี่ในอัตราความเร็วปกติ และวาล์วควบคุมน้ำมันระดับที่สาม ORIFICE วาล์วจะทำงานในขณะแกนโช้คเคลื่อนตัวในขณะที่รถใช้ความเร็วสูง
     2.โช้คอัพระบบ “แก๊ส”
       โช้คอัพแก๊สแรงดันต่ำ (LOW-PRESSURE GAS SHOCK ABSORBER) โช้คอัพแก๊สแบบนี้ จะมีลักษณะเหมือนโช้คอัพไฮดรอลิคทั่วๆไป แต่มีแก๊สไนโตรเจน (NITROGEN GAS) บรรจุเข้าไปส่วนบนของห้องน้ำมันสำรองแรงดันประมาณ 142 - 213 ปอนด์/ ตารางนิ้ว
      โช้คอัพแก๊สแรงดันสูง (HI-PRESSURE GAS SHOCK ABSORBER) มีลักษณะต่างจากโช้คอัพแรงดันต่ำคือ โครงสร้างภายในตัวของโช้คอัพจะมีน้ำมันเพียงห้องเดียวไม่มีห้องน้ำมันสำรอง ภายในกระบอกสูบจะบรรจุน้ำมันไฮดรอลิคไว้ด้านบน และจะอัดแก๊สไนโตรเจนไว้ด้านล่าง ประมาณ 284-427 ปอนด์/ ตารางนิ้ว
อาการรถแบบไหนต้องเปลี่ยนโช้คอัพ
     1. ซีลน้ำมันโช้คอัพรั่ว (จะมีน้ำมันไหลออกมา)
     2. โช้คอัพ คด งอ ผิดรูปทรง
     3. รถเด้งกระด้างกว่าปกติ
     4. โช้คมีอาการโยนตัวมาก หลังจากตกหลุม
     5. โช้คอัพเสื่อมสภาพ (ใช้งานเกิน 100,000 กิโลเมตร หรือ 5 ปี)
         เรื่องโช๊คอัพอาจดูซีเรียสแต่ไม่ยากเกินที่จะเข้าใจ โช้คทั้ง 2 แบบมี ข้อดี/ข้อเสีย แตกต่างกันไปรวมถึงงบประมาณค่าใช้จ่าย ปกติโช้คอัพรถยนต์ที่ติดมากับรถวิศวกรได้คำนวณออกแบบมาให้เหมาะกับลักษณะรถแต่ละรุ่นแล้ว หากไม่ได้เสียหายหรือหมดอายุการใช้งานก็ใช้โช้คเดิมนั่นแหละไม่ต้องเปลี่ยนใหม่
35 วิธีดูแลรถให้มีอายุการใช้งานยืนยาวนานขึ้น
  1. ในช่วงรันอิน ขณะที่ขับรถไปได้ 1,600 กิโลเมตรแรก จำกัดความเร็วให้อยู่ต่ำกว่า 88 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเอาไว้ หรือความเร็วตามที่แนะนำสำหรับรถแต่ละรุ่น
      2. หลีกเลี่ยงสิ่งของกระทบถูกรถ เพราะแม้แต่ลูกบอลพลาสติกเบา ๆ กระทบก็ทำให้เกิดรอยขนแมวได้
      3. อย่าเร่งเครื่องเวลาสตาร์ททันที โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศข้างนอกหนาวเย็น ทางที่ดีควรเร่งความเร็วหลังผ่านไปประมาณสัก 10 - 20 นาที
      4. พักเครื่องยนต์ด้วยการเลื่อนเกียร์ว่างให้อยู่ในตำแหน่งไฟสีแดง ไม่อย่างนั้นแม้จะไม่ได้ขับรถ ตัวเครื่องก็จะยังคงทำงานอยู่
      5. พยายามไม่ขับรถเร็วจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อนหรือเย็นจัด
      6. หลีกเลี่ยงการหยุดรถกะทันหันที่จะทำให้ล้อสึกอย่างรวดเร็ว
      7. เวลาหมุนพวงมาลัย ไม่ควรหักไปทิศทางใดจนสุด
      8. หากรถติดอยู่ในพวกหลุมโคลนขนาดใหญ่จนเอาขึ้นมาลำบาก ควรเรียกช่างมาช่วยยกแทนที่จะพยายามเร่งเครื่องให้หลุดออกมา
9. การพ่วงของอื่น ๆ ไว้กับกุญแจรถด้วย จะทำให้กุญแจรถหนักขึ้น บวกกับเวลาที่ขับ แรงสั่นสะเทือนก็จะยิ่งทำให้ช่องที่เสียบกุญแจรถรับภาระหนักขึ้นอีก จนชิ้นส่วนภายในสึกหรอได้ เพราะฉะนั้นเลือกเอาเครื่องประดับเล็ก ๆ ชิ้นเบา ๆ มาใช้ก็พอแล้ว
       10. หมั่นสังเกตหรือถ้าจะให้ดีก็ควรจดเอาไว้ด้วยว่าวัน ๆ น้ำมันของคุณหมดไปเท่าไหร่ และวันนี้ขับไปเป็นระยะทางเท่าไหร่ ถ้าน้ำมันหดหายจนผิดสังเกต จะได้ตามช่างมาดูสิ่งผิดปกติได้ทัน
       11. อย่าทิ้งรถไว้เฉย ๆ นานเกินไปจนเครื่องยนต์สึกกร่อนเสียหาย โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่ต้องถูกดึงไฟมาใช้อยู่เรื่อย ๆ แม้จะไม่ใช้ เพราะฉะนั้นคุณจึงควรสตาร์ทรถวอร์มเครื่องบ้าง
       12. ใช้ขาตั้งยกรถเป็นตัวค้ำเวลาจอด รถจะได้ไม่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป
       13. จอดรถในที่ร่ม เพื่อไม่ให้รถร้อน หรือจะเลือกใช้รถเป็นสีที่คายความร้อนเช่นสีสว่างเป็นมันเงาดูก็ได้
       14. ทำความสะอาดแผงหน้าปัดด้วยผ้าชุบน้ำพอหมาด และหมั่นดูดฝุ่นในรถเสมอ
      15. เคลือบเบาะหนังเพื่อให้รถดูเหมือนใหม่อยู่เสมอ
       16. แก้ปัญหาไฟท้ายมีร่องรอยด้วยการเอาเทปซึ่งขายในร้านอุปกรณ์สำหรับรถมาติด ก่อนที่น้ำจากฝนจะรั่วซึมเข้ามาติดอยู่ภายใน
       17. ต่อให้เป็นรถที่ทนทานขนาดไหนก็ไม่ควรบรรทุกของหนักเกินไป ไม่ว่าจะเป็นที่ท้ายรถหรือมัดไว้บนหลังคาก็ตาม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วควรจุไม่เกิน 90 กิโลกรัม
       18. มองหาผ้ามาคลุมรถทุกครั้งตอนที่เก็บในโรงรถเพื่อรักษาสีให้ดูใหม่นาน ๆ
       19. สำหรับคนที่จำเป็นต้องใช้รถบรรทุกของไปด้วย ควรใช้ผ้าหนา ๆ ปูสักชั้นก่อนใส่ของลงไปด้วย จะได้ไม่ขูดขีดโดนรถจนเป็นรอย
        20. เคลือบแว็กซ์อีกชั้นเพื่อถนอมสีรถให้ติดทนนานยิ่งขึ้น รวมทั้งกันรอยขูดขีดด้วย
        21. ตอนที่เติมลมยางรถ ลองสังเกตดูสิว่ามีความชื้นออกมาจากตัวปั๊มลมด้วยรึเปล่า ถ้ามีก็หยุดซะ เพราะหากมีความชื้นเข้าไปฝังตัวด้านในจะทำให้ล้อเสียหายได้
      22. เลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดล้อที่เหมาะสม และพยายามขยันใช้เป็นประจำ เพราะล้อต้องเจอสิ่งสกปรกบ่อยกว่าส่วนอื่น ๆ
      23. หยอดน้ำมันหล่อลื่นลงน๊อตล้อเพื่อกันความฝืดเคือง ให้เครื่องทำงานได้สะดวกมากขึ้น
      24. ระบบเบรกป้องกันล้อล็อกนั้นค่อนข้างไม่ถูกกับความชื้นเป็นพิเศษ มันจึงควรถูกเช็ดทำความสะอาดให้แห้ง และควนตรวจเช็คอย่างน้อยทุก ๆ 3 ปี
      25. เปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อย ๆ คราบตกตะกอนจะได้ไม่ฝังอยู่ภายใน
      26. คุณต้องทำความสะอาดฝาถังน้ำมันบางเช่นกัน เพื่อไม่ให้สิ่งสกปรกอุดตันอยู่ภายใน
      27. ตรวจเช็คแบตเตอรี่เป็นประจำ ถ้ามีรอยแตกร้าวควรเปลี่ยนทันที และควรทำความสะอาดด้วย
      28. เปลี่ยนหัวเทียนเมื่อคุณขับรถไปได้ 48,000 - 64,000 กิโลเมตร
      29. ใช้น้ำสะอาดเติมลงหม้อน้ำรถยนต์เท่านั้น เพื่อไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าไปสะสม โดยผสมน้ำยาหล่อเย็นและน้ำเปล่าในสัดส่วนครึ่งต่อครึ่ง
     30. ปูผ้าขนหนูไว้บนเบาะก่อนเอาที่นั่งเด็กมาวางทับ เพื่อกันรอยขีดข่วน
     31. กระปุกเก็บน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ต้องมีน้ำมันอยู่ในระดับพอดี และฝาปิดสนิทก่อนสตาร์ทเครื่องด้วย ไม่อย่างนั้นหากเจอความร้อนหลังเครื่องทำงานเข้าไป อาจยิ่งเพิ่มความดันจนทำให้น้ำมันล้นออกมาได้
      32. ควรเปลี่ยนสายพานราวลิ้นตามระยะเวลาที่แนะนำในคู่มือ
      33. หมั่นตรวจน้ำกลั่นแบตเตอรี่ไม่ให้อยู่ต่ำกว่าระดับที่ควร
      34. ถอดก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาเช็ดทำความสะอาดบ้าง
      35. ตรวจเช็ควาล์ว PCV หรือ Positive Crankcase Ventilation และเปลี่ยนหลังขับรถไปเป็นระยะทาง 48,000 กิโลเมตร
        นอกจากที่แนะนำมานี้ ก็ควรเอารถไปตรวจเช็คที่ศูนย์เป็นประจำด้วยนะครับ หากเกิดสิ่งผิดปกติอะไรขึ้นมา จะได้ให้มืออาชีพช่วยแก้ไขได้ทันยังไงล่ะ
 
 
 
ข่าว
- เคล็ดลับสำหรับคนเดินทางไกล [1 กุมภาพันธ์ 2560 23:36 น.]
- ถ้าคุณรักรถรถก็จะรักคุณ [1 กุมภาพันธ์ 2560 23:36 น.]
- alphard-estima.com ออกบูชที่ไบเทค [1 กุมภาพันธ์ 2560 23:36 น.]
- ข้อควรปฏิบัติในการดูแลรถยนต์ HYBRID [1 กุมภาพันธ์ 2560 23:36 น.]
- TOYOTA HARRIER GS [1 กุมภาพันธ์ 2560 23:36 น.]
- รูปภาพติดตั้งalphard vellfire 2015 [1 กุมภาพันธ์ 2560 23:36 น.]
- new toyota vellfire 2015 [1 กุมภาพันธ์ 2560 23:36 น.]
- รูปภาพงานติดตั้ง new harrier 60 [1 กุมภาพันธ์ 2560 23:36 น.]
- toyota pardo 2.7 [1 กุมภาพันธ์ 2560 23:36 น.]
- toyota vellfire zg edition [1 กุมภาพันธ์ 2560 23:36 น.]
ดูทั้งหมด

  แสดงความคิดเห็น

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

ชื่อ: *
E-mail : *
ไม่ต้องการแสดง Email
รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป

   หน้าแรก
   สินค้า
   ข่าวสาร
   บทความ
   กระดานสนทนา
   ติดต่อเรา
สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 10
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 461
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 2,150,668
 เปิดเว็บ 16/07/2555
 ปรับปรุงเว็บ 02/11/2560
 สินค้าทั้งหมด 200
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
24 พฤศจิกายน 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
     
10  11  12  13  14  15  16 
17  18  19  20  21  22  23 
24  25  26  27  28  29  30 
             
Copyright by alphard-estima.com

Engine by MAKEWEBEASY